วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกหัวใจ...Heart Flower


ดอกหัวใจ เป็นดอกไม้ป่าพื้นเมืองของญี่ปุ่น 
(ทางตะวันตกก็มีเช่นกัน)
ชอบอยู่ในที่ร่ม

ดอกหัวใจ (Heart Flower)
หรือดอกหัวใจหลั่งเลือด (Bleeding Heart Flower)

เรียกตามลักษณะกลีบดอกที่มีลักษณะคล้ายหัวใจ
และตรงปลายหัวใจมีหยดหรือติ่ง
ซึ่งบางคนบอกว่าดูคล้ายๆกับกำลังหลั่งเลือด



มีด้วยกันสามสี คือสีแดง สีขาว และสีชมพู
ต้นไม่สูงมากนัก โดยมากไม่เกิน 30 นิ้วแล้วแต่พันธุ์
ส่วนใหญ่ออกดอกในช่วงต้นฤดูร้อน

ดอกโตประมาณ 1 นิ้ว
เป็นเวลาหนึ่งถึงห้าเดือน (แล้วแต่พันธุ์ และสิ่งแวดล้อม)
แต่ดินจะต้องมีความชุ่มชื้นเพียงพอ
ชอบอยู่ในที่ร่ม หรือ รำไร
แพร่พันธุ์ด้วยเมล็ด หรือแบ่งราก (division of roots)


ใครไปญี่ปุ่นฝากซื้

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตระกูลดอกไม้หายาก



เพื่อนๆ ทุกคนคงได้ยินชื่อ “บัวหิมะ” กันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ? เพราะบัวหิมะมีสรรพคุณทางด้านสมุนไพร และเป็นส่วนผสมในยาและเครื่องสำอางต่างๆ มานานแล้ว
ผมเคยได้ยินชื่อ “บัวหิมะ” มาตั้งแต่เด็กๆ ในหนังจีนกำลังภายใน ที่บรรดาท่านจอมยุทธทั้งหลาย ต้องไปแสวงหามาเพื่อใช้ถอนพิษ เพื่อรักษาวรยุทธและพลังลมปราณเอาไว้ ฮ่าๆๆ
แต่ด้วยความสงสัยที่ว่า บัวหิมะ มีจริงหรือ? รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร? หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักหรือไม่เคยเห็น วันนี้ผมเลยไปหาข้อมูลมาฝากเพื่อนๆ ให้รู้จักกับ บัวหิมะ กันซะหน่อยนะครับ
บัวหิมะ (Snow lotus = Saussurea involucrata) เป็นไม้ดอกที่อยู่ในวงศ์ Asteraceae บัวหิมะ เจริญเติบโตอยู่บนยอดเขาที่มีอากาศเย็นจัดที่มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี เช่น บริเวณเทือกเขาเทียนซาน (เทียนซัน Tianshan) เทือกเขาคุนหลุน (คุนลุน, คุนลุ้น) และเทือกเขาอัลไต ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร Northwest China’s Xinjiang Uygur Autonomous Region ซึ่งเรียกว่า บัวหิมะซินเจียง (Xinjiang Snow Lotus หรือ Xuehehua)
โดยจะพบบัวหิมะ ขึ้นกระจายอยู่ตามบริเวณร่องหิน โขดหิน และไหล่ภูเขาสูง ที่มีอากาศเย็นจัดหรือบริเวณที่ราบสูงมีหิมะปกคลุมทั้งปี เช่น ซึ่งเรียกว่า บัวหิมะซินเจียง (Xinjiang Snow Lotus หรือ Xuehehua)
บัวหิมะเติบโตในบริเวณที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 3000 – 4000 เมตรขึ้นไป ซึ่งแม้ในฤดูร้อนภูเขาก็ยังมีหิมะปกคลุม บัวหิมะเติบโตอย่างช้าๆ แต่ทนทานมาก โดยปกติเมล็ดของบัวหิมะเพียง 5% เท่านั้นที่เติบโตจนออกดอกได้ และใช้เวลา 3 ปีกว่าจะเก็บเกี่ยวได้
ดอกบัวหิมะบานช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมของทุกปี ดอกเป็นสีขาวหรือเขียวอ่อน ดูคล้ายดอกบัวขนาดใหญ่ เบ่งบานท้าทายลมและหิมะ ส่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่ว
เนื่องจากบัวหิมะเจริญเติบโตในบริเวณอากาศหนาวเย็นมาก ดอกบัวหิมะจึงมีรสขมเล็กน้อย ในปัจจุบันบัวหิมะใช้ทำยา ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เสริมความงามกว่า 50 ชนิด
บัวหิมะมีสรรพคุณหลายประการเช่น ช่วยป้องกันอาการไข้ ขับสารพิษ ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุการเป็นโรครูมาตอยด์ บำรุงเลือด ฟื้นฟูสภาพไต และ เป็นยาอายุวัฒนะ ปรับความสมดุลย์หยิน-หยางของร่างกาย บำรุงเลือด โดยเฉพาะสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือปวดประจำเดือนบ่อย รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ตามร่างกาย ฝ้า ตกกระ กลาก เกลื้อน แมลงสัตว์กัดต่อย รวมไปถึง ฮ่องกงฟุต และริดสีดวงทวาร อีกทั้งช่วยบำรุงผิวพรรณ โดยมีผลิตภัณฑ์ทั้งที่เป็นแบบบริสุทธิ์ 100% หรือนำไปผสมกับตัวยาอื่นๆ
จีนส่งออกบัวหิมะมากกว่าปีละ 5 ล้านดอก มีบริษัทในซินเจียงทำธุรกิจเกี่ยวกับบัวหิมะกว่า 100 แห่งซึ่งทุกแห่งต้องมีใบอนุญาตจากรัฐบาล และเนื่องจากความต้องการสูงมาก แต่ปริมาณบัวหิมะเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ รัฐบาลจีนจึงควบคุมการเก็บดอกบัวหิมะอย่างเข้มงวด
รวมทั้งพยายามหาวิธีอนุรักษ์และขยายพื้นที่การปลูกมากขึ้น โดยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐเริ่มเพาะบัวหิมะในห้องแล็บก่อนจะนำไปปลูกในร่องหิน อัตราการรอดของบัวหิมะแบบนี้สูงกว่า 90% ซึ่งในอนาคตอาจทำให้จีนสามารถผลิตบัวหิมะได้มากกว่าในปัจจุบัน

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกนางพญาเสือโค่รง


นางพญาเสือโคร่ง หรือ ซากุระเมืองไทย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus cerasoides D . Don

ชื่อสามัญ : นางพญาเสือโคร่ง (Himalayan Cherry)

ชื่อพื้นเมือง : นางพญาเสือโคร่ง ฉวีวรรณ Chawiwan,ชมพูภูพิงค์ Chomphu phuphing, เส่คาแว่ Se-Kha-waeg เสแผ่ Se-phae, เส่ลาแหล่ Se-la-lae (Karen-Chiang Mai),ซากุระดอย,ยูนนาน เชอรี่Yunnan Cherry

นางพญาเสือโคร่งได้รับการขนานนามว่า ซากุระเมืองไทยเพราะพันธุ์ไม้ท้องถิ่นอันงดงามชนิดนี้ของประเทศไทย จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับดอกซากุระของประเทศญี่ปุ่น คือ วงศ์กุหลาบ(Rosaceae)โดยนางพญาเสือโคร่งอยู่ในสกุล Prunus เช่นเดียวกับต้นเชอรี่ แอปริคอต พลัม แอปเปิลท้อ และสาลี่ ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบอากาศหนาวเย็น นางพญาเสือโคร่ง (Prunus cerasoides)เป็นไม้ต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูง ประมาณ 10-15 เมตร ที่พบบนอยู่ตามธรรมชาติ ไหล่เขา หรือตามสันเขา บริเวณเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตร ขึ้นไปสภาพเป็นป่าดิบเขา

ใบ : เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือ ไข่กลับออกสลับกันใบมี ความกว้าง 3-5เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลม หรือ สอบแคบ ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ตอม หูใบแตกแขนงคลายเขากวางใบล่วงง่าย

ดอก : สีขาวชมพู หรือ แดง ออกเป็นช่อกระจุกคลายปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโต เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ระยะเวลาออกดอกระหว่างเดือนธันวาคม จนถึง เดือนกุมภาพันธุ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอกเป็นกระจุกตามปลายกิ่งมีทั้งสีชมพู แดง และ ขาวเมื่อดอกได้รับการผสมจะติดผลรูปไข่ผลสุกเป็นสีแดงแบบลูกเชอรี่

ผล : รูปไข่ หรือ กลมยาว 1-1.5เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดงผลของพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้มีรสเปรี้ยวส่วนเนื้อไม้ และ การใช้ประโยชน์ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูล

สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถานโดย นาย มนตรี พุทธวงศ์ ได้นำปลูกเมื่อปีพ.ศ.2532 ปัจจุบันได้เพราะขยายพันธุ์แจกจ่ายให้ส่วนต่างๆที่มีความเหมะสมนำไปปลูกเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชนในอีกมิติหนึ่ง.

บัววิกตอเรีย


บัววิกตอเรีย เป็นบัวมีใบใหญ่มาก ลักษณะกลม มีขอบยกสูงขึ้นมาคล้ายกระด้ง จึงเรียกว่า บัวกระด้ง ก้านใบมีหนามแหลม เป็นไม้ถิ่นเดิมในอเมริกาใต้ ได้มีการนำบัวพันธุ์นี้ไปเพาะบนเกาะอังกฤษได้สำเร็จ ดอกบัวดอกแรกที่ผลิบานได้ส่งไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เพราะทรงอนุญาตให้นำพระนามาภิไธยมาขนานนามบัวชนิดนี้ มีผู้นำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับในเมืองไทยนานแล้ว


บัววิกตอเรียอีกชนิดหนึ่งคือ Victoria cruziana Orbigny เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาใหม่ต่างกับชนิดที่กล่าวมาแล้วตรงดอกสีขาวแต่เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มในวันที่ 2 และกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลมเฉพาะตรงโคนกลีบ และขอบใบสูงกว่า

การจำแนกทางวิทยาศาสตร์อาณาจักร พืช (Plantae)   ส่วน พืชดอก (Magnoliophyta)   ชั้น พืชใบเลี้ยงคู่ (Magnoliopsida)
อันดับNymphaeales   วงศ์ วงศ์บัว (Nymphaeaceae)   สกุล บัววิกตอเรีย Victoria

ลักษณะบัววิกตอเรีย (Victoria waterlily) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่ประมาณ 6 ฟุต ลอยบนผิวน้ำ ใบอ่อนมีสีแดงคล้ำเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ขอบใบยกขึ้นตั้งตรง มีหนามแหลมตามก้านใบและผิวใบด้านล่าง ก้านดอกและกลีบเลี้ยงด้านนอกมีหนามแหลม ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ดอกแรกบานจะมีสีขาว จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีขาวอมชมพู และเป็นสีแดงเรื่อในที่สุด บานเวลาใกล้ค่ำ หรือกลางคืน มีกลิ่นหอม และจะหุบในตอนสายของวันรุ่งขึ้น

ใบ

ใบเดี่ยวออกสลับถี่ลอยอยู่บนผิวน้ำ เรียงเป็นวง แผ่นใบกลมใหญ่กว้างประมาณ 1.5 เมตร ด้านบนเป็นมันสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวปนม่วงแดง มีขนเส้นใบใหญ่นูน ก้านใบมีหนามแหลม ขอบใบยกขึ้นคล้ายขอบกระด้ง

ดอก

ดอกเดี่ยว ใหญ่ หอมมาก แรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู ชมพูเข้มและม่วงตามลำดับ ดอกบานเหนือน้ำเล็กน้อย กลีบดอกชั้นนอกสีเขียว หนามแหลมจำนวนมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 ซม. ผลค่อนข้างกลม เปลือกหนา มีหนาม เมล็ดใหญ่จำนวนมาก ออกดอกตลอดปี บานตอนเย็น- กลางคืน หุบตอนเช้า

การค้นพบถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ถ้าปลูกในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาวจะมีอายุไม่เกิน 1 ปี และตายเมื่อเข้าฤดูหนาวและน้ำเป็นน้ำแข็ง

การขยายพันธุ์

โดยไหลซึ่งแตกจากเหง้าใต้ดิน ปลูกลงในบ่อในโคลนเลนโดยตรง หรือ ปลูกในกระถางทรงแบนให้ตั้งตัวก่อน แล้วนำไปวางในโคลนเลนให้แตกไหลออกมาและเจริญต่อไป บัววิกตอเรียเป็นบัวที่มีความทนทานปลูกเลี้ยงง่ายสามารถทนแดดทนฝนได้ดี เหมาะที่จะปลูกในบ่อกว้าง ๆ และไม่มีวัชพืชหรือพรรณไม้อื่นขึ้นปะปน

ประโยชน์

ใช้ปลูกประดับในสระน้ำ ใช้ปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ดีบัวช่วยขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เมล็ดบัวใช้ทำอาหารคาว หวาน กลีบดอกใช้มวนบุหรี่ ใบอ่อนเป็นผักจิ้ม ใบแก่ใช้ห่อของแทนใบตอง

ข้อมูลจาก           http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/บัววิกตอเรีย






เพชรหึง กล้วยไม้ยักษ์ที่คนไทยเรียกว่าว่าน

 




                  เมื่อเอ่ยถึงคำว่า เพชรหึง คนไทยส่วนใหญ่จะนึกถึง ลมพายุขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งมักถูกเอาไปเปรียบเทียบกับอารมณ์หึงหวงอย่างรุนแรงของสามีภรรยา หรือคนรัก ทำให้เห็นภาพพจน์ว่า สามารถสร้างความเสียหายได้เทียบเท่ากับลมเพชรหึงเลยทีเดียว

แต่เพชรหึง ยังมีอีกความหมายหนึ่ง สำหรับคนไทย นั่นคือเป็นชื่อของพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งคนไทยแต่ก่อนเรียกว่า ว่านเพชรหึง ทั้งที่ความจริง เพชรหึง อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) แต่เป็นกล้วยไม้ขนาดใหญ่กว่ากล้วยไม้ทั่วไปมาก คนไทยจึงมักจะไม่คิดว่าเพชรหึงเป็นกล้วยไม้

เพชรหึง : กล้วยไม้ใหญ่ที่สุดในโลกจากป่าไทย
เพชรหึงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Grammatophyllum specinocum BL. อยู่ในวงศ์ Orchidaceae หรือวงศ์กล้วยไม้ นั่นเอง
ลำต้น อาจสูงถึงกว่า 3 เมตร มีข้อตามลำต้นห่าง กันประมาณ 4 เซนติเมตร ลำต้นแก่มีสีเหลือง เส้น ผ่าศูนย์กลางลำต้นอาจถึง 5 เซนติเมตร แตกหน่อออกทางด้านข้าง
ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันบนลำต้น ใบกว้างราว 3 เซนติเมตร ยาวราว 60 เซนติเมตร ใบอ่อน โค้งลงด้านล่าง ใบเมื่อแก่จัดจะร่วงหลุดไปจากลำต้นทิ้งรอยแผลเป็นไว้เป็นระยะๆ ที่มองคล้ายข้อบนลำต้นนั่นเอง
ดอก ออกราวเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม โดยดอกจะทยอยบานติดต่อกันนานถึง 3 เดือน ช่อดอกมีทั้งชนิดช่อตั้งและช่อห้อย แต่ละช่ออาจยาวได้ 1.5 ถึง 2 เมตร ก้านดอกยาว 15-30 เซนติเมตร แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 3 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน มีรังไข่อยู่ 3 ห้อง
เพชรหึงออกดอกตามบริเวณยอด ครั้งละ 2-3 ช่อ กลีบดอกสีเหลือง มีจุดประสีแดงเข้ม แต่บางต้นก็ไม่มีจุดสีแดงเลย
ผล ผลมี 3 พู รูปร่างยาว เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 3 กลีบ มีเมล็ดสีดำขนาดเล็กอยู่มากมายปลิวไปตามลม

เพชรหึงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และหมู่เกาะตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ในประเทศไทยพบอยู่ตามธรรมชาติในป่าของจังหวัดพิษณุโลก เลย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง และ นราธิวาส

ชื่อที่เรียกในประเทศไทยคือ ว่านเพชรหึง ว่านหางช้าง ว่านงูเหลือม กล้วยกา เอื้องพร้าว เป็นต้น ในภาษาอังกฤษเรียก Leopard Flower

เหตุที่คนไทยส่วนใหญ่ในอดีตเรียกเพชรหึงว่าว่านนั้น เพราะเพชรหึงมีสรรพคุณทางยาหลายอย่าง เช่น แก้พิษตะขาบ แมงป่อง แก้พิษงูกัด รักษาอาการผื่นคันมีน้ำเหลือง รักษาฝีประคำร้อย และรักษาอาการไอ เจ็บคอ เป็นต้น

ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ (พ.ศ.2416 ) อธิบายว่า เพ็ชหึง : คือเป็นชื่อว่านอย่างหนึ่ง เหมือนลมเพ็ชหึงนั้น
ในหนังสือตำรากบิลว่าน กล่าวว่า เมื่อดอกว่านเพชรหึงแก่ ก้านดอกจะส่ายไปมา คล้ายงูโยกหัว เมื่อมีพายุใหญ่ (ลมเพชรหึง) พัดมา จะมีเสียงคล้ายจุดประทัด แล้วดอกว่านเพชรหึงจะหายไปพร้อมกับพายุ จากความ เชื่อนี้คงเป็นคำอธิบายให้เข้าใจว่า ทำไมคนไทยจึงตั้งชื่อ พืชชนิดนี้ว่า " เพชรหึง " เพราะว่าเกี่ยวข้องกับลมเพชรหึง ดังที่อธิบายไว้ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2416 นั่นเอง