นางพญาเสือโคร่ง หรือ ซากุระเมืองไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus cerasoides
D . Don
ชื่อสามัญ : นางพญาเสือโคร่ง (Himalayan Cherry)
ชื่อพื้นเมือง : นางพญาเสือโคร่ง ฉวีวรรณ Chawiwan,ชมพูภูพิงค์
Chomphu phuphing, เส่คาแว่ Se-Kha-waeg เสแผ่ Se-phae, เส่ลาแหล่ Se-la-lae
(Karen-Chiang Mai),ซากุระดอย,ยูนนาน
เชอรี่Yunnan Cherry
นางพญาเสือโคร่งได้รับการขนานนามว่า ”ซากุระเมืองไทย” เพราะพันธุ์ไม้ท้องถิ่นอันงดงามชนิดนี้ของประเทศไทย
จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับดอกซากุระของประเทศญี่ปุ่น คือ
วงศ์กุหลาบ(Rosaceae)โดยนางพญาเสือโคร่งอยู่ในสกุล
Prunus เช่นเดียวกับต้นเชอรี่ แอปริคอต พลัม แอปเปิลท้อ
และสาลี่ ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบอากาศหนาวเย็น นางพญาเสือโคร่ง (Prunus
cerasoides)เป็นไม้ต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก มีความสูง ประมาณ
10-15
เมตร ที่พบบนอยู่ตามธรรมชาติ ไหล่เขา หรือตามสันเขา
บริเวณเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ระดับ 1,000 เมตร
ขึ้นไปสภาพเป็นป่าดิบเขา
ใบ
:
เป็นชนิดใบเดี่ยว ลักษณะรูปรีแบบไข่ หรือ ไข่กลับออกสลับกันใบมี ความกว้าง
3-5เซนติเมตร ยาว 5-12
เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบกลม หรือ สอบแคบ
ขอบจักปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ตอม
หูใบแตกแขนงคลายเขากวางใบล่วงง่าย
ดอก
: สีขาวชมพู หรือ แดง ออกเป็นช่อกระจุกคลายปลายกิ่ง ก้านดอกยาว
0.7-2
เซนติเมตร ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ
กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย กลีบดอกมี 5 กลีบ เมื่อบานขนาดโต เส้นผ่าศูนย์กลาง
1-2
เซนติเมตร ระยะเวลาออกดอกระหว่างเดือนธันวาคม จนถึง
เดือนกุมภาพันธุ์ โดยจะทิ้งใบก่อนออกดอกเป็นกระจุกตามปลายกิ่งมีทั้งสีชมพู แดง และ
ขาวเมื่อดอกได้รับการผสมจะติดผลรูปไข่ผลสุกเป็นสีแดงแบบลูกเชอรี่
ผล
: รูปไข่ หรือ กลมยาว 1-1.5เซนติเมตร
เมื่อสุกสีแดงผลของพญาเสือโคร่งสามารถนำมารับประทานได้มีรสเปรี้ยวส่วนเนื้อไม้ และ
การใช้ประโยชน์ด้านอื่นยังไม่มีการบันทึกข้อมูล
สถานีวิจัยต้นน้ำขุนสถานโดย นาย มนตรี พุทธวงศ์ ได้นำปลูกเมื่อปีพ.ศ.2532
ปัจจุบันได้เพราะขยายพันธุ์แจกจ่ายให้ส่วนต่างๆที่มีความเหมะสมนำไปปลูกเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชนในอีกมิติหนึ่ง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น